บทบาทและความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
1. ความสำคัญของสื่อกับกระบวนการเรียนการสอน
คำว่า สื่อ (Media) โดยทั่วไป หมายถึง ตัวกลางหรือระหว่าง (Between) ซึ่งในที่นี้ถ้าหมายถึงการสื่อสารแล้ว สื่อจะหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่เป็นการแนะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ วัสดุฉาย สิ่งพิมพ์และอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ ก็คือ สื่อที่ใช้ในการสื่อสาร แต่เมื่อนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า สื่อการเรียนการสอน ด้วยเหตุนี้ สื่อการเรียนการสอนจึงมีหน้าที่เป็นพาหนะนำความรู้ไปสู่ผู้เรียนในขณะที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คำว่า สื่อการสอน ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Instructional Media จึงแยกคำว่าสื่อการสอนออกเป็น 2 คำ คือ สื่อ(Medium เป็นเอกพจน์ Media เป็นพหุพจน์) กับคำว่าการสอน (Instruction) สื่อ(Medium,pl. Media) เป็นคำที่มาจากภาษาลาตินว่า “ Medium” แปลว่าระหว่าง between หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับ สามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ สื่อที่นิยมใช้ประกอบการเรียนการสอน เช่น สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วิดีโอ แผนภูมิ ภาพนิ่ง เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Over head) ซึ่งจะกล่าวถึงคุณประโยชน์ วิธีการใช้ ข้อดี ข้อเสีย และวิธีเก็บรักษาสื่อเหล่านี้ในรายละเอียดต่อไป
2. ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอนแต่ละชนิดนั้นมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่งผู้สอนสามารถที่จะเอาสื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทุกระดับชั้น ตั้งแต่การศึกษาระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมวัยนั้น การใช้สื่อการเรียนการสอนกับวัยเด็กยิ่งมีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นวัยแรกเริ่มแห่งการพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ซึ่งได้กล่าวถึงประโยชน์และความสำคัญของสื่อการเรียนการสอนไว้ดังนี้
- ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้มากและจดจำได้นาน
- ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
- ช่วยส่งเสริมการคิดเป็นและการแก้ปัญหาใจกระบวนการเรียนของผู้เรียน
- ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากสลับซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย
- ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเอกลักษณ์บุคคลไม่ว่าจะเป็นเด็กเก่งหรือเด็กเรียนช้า
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนโดยประหยัดเวลาและแรงงาน
- ทำให้ครูสามารถปับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนได้หลายรูปแบบ
- ช่วยเพิ่มประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวางมากขึ้น
- ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดในการเรียนการสอนบางประการ อาทิ เช่น
- ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
- ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
- ทำสิ่งเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงช้าให้เร็วขึ้น
- ทำสิ่งที่ใหญ่ให้ย่อขนาดลง
- ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายใหญ่ขึ้น
- นำอดีตมาศึกษาได้
- ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
- นำสิ่งที่อยู่ใกล้หรือลี้ลับมาศึกษาได้
- ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จเร็วขึ้นและสอบได้คะแนนมากขึ้น
- ช่วยให้ความหมายของศัพท์เพิ่มขึ้น
- พัฒนาความคิดได้ต่อเนื่อง เช่น ภาพยนตร์
- ถ้าใช้สื่อการสอนอย่างสม่ำเสมอจะสามารถเปลี่ยนความคิด ทัศนคติทั้งยังช่วยสร้างทัศนคติให้มั่นคงได้
- ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
Posted on มิถุนายน 27, 2013, in หน่วยการเรียนรู้ที่ 1. Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.
ใส่ความเห็น
Comments 0